ตู้ MDB

ตู้ MDB

ตู้ MDB คือ ตู้แผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นอุปกรณ์แรกที่รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เพื่อแปลงกระแสไฟแล้วจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังแผงย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของตัวอาคารสถานที่ มักใช้สำหรับอาคารที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์นี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเรียกว่า ตู้ MDB หรือตู้ สวิทช์บอร์ด ในบางประเทศก็จะเรียกง่า Main Switchboard มีการนำมาใช้งานใน 4 วัตถุประสงค์หลัก ๆ ด้วยกัน การใช้งาน ตู้ MDB เพื่อการตอบสนองตามวัตถุประสงค์แต่ละอย่าง

อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า ตู้ MDB เป็นแผงไฟแรกที่รับไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่ง ตู้ MDB มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้

1. แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า เข้าสู่ตัวอาคารโดยผ่านสวิทช์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า สวิตซ์เกียร์ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 400-416 VAC, 50Hz 3 เฟส 4 สาย ซึ่งเป็นความแตกต่างหลักอย่างหนึ่งระหว่างอาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรมในการใช้ไฟฟ้า 3 เฟสแทนการใช้ไฟฟ้า 1 เฟส เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือสวิทช์แยกวงจร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตัด-ต่อไฟฟ้าเพื่อเข้าสู่ตัวอาคาร

2. ป้องกันระบบไฟฟ้า ในกรณีที่ระบบการแจกจ่ายกำลังไฟฟ้ามีปัญหา ไม่ปกติ ถ้าไม่มีระบบการป้องกันอาจจะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่เสียหายได้ หรือถ้าเกิดความรุ่นแรงอาจทำให้ระเบิดได้ และอาจเกิดอันตรายกับผู้คนที่อยู่ในบริเวณใกล้ได้ และถ้าไฟฟ้าลัดวงจรจะทำให้เกิดการผิดปกติของระบบไฟฟ้า ดังนี้ เกิดลัดวงจร (Short Circuit), กระแสเกิน (Overload), แรงดันเกิน (Over Voltage), แรงดันตก (Under Voltage), แรงดันหายบางส่วน (Phase loss), แรงดันสลับเฟส (Phase Sequence), ป้องกันไม่ให้มีกระแสรั่ว (Earth Leakage) และป้องกันฟ้าผ่า (Surge Protection)

3. แสดงสถานการทำงาน เพาว์เวอร์ มิเตอร์จะใช้ในการแสดงค่าพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า เช่น แรงดัน, กระแส, ความถี่, กำลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริง, กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เป็นต้น เพื่อใช้สำหรับวัดคุณภาพการใช้พลังงานเช่นเดียวกับการวัด และบันทึกปริมาณพลังงานที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการประหยัดพลังงาน ทั้งนี้เพาว์เวอร์มิเตอร์แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ Analog Power Meter และ Digital Power Meter

4. ระบบไฟฟ้าสำรอง มีหลายรูปแบบ หลายระดับ เริ่มตั้งแต่การสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบ manual และการเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟเป็นแบบอัตโนมัติ เพื่อป้องกันวงจรที่จำเป็น ในขณะเดียวกันการควบคุมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การสั่งสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อกำลังไฟฟ้าพร้อมที่จะจ่าย ก็จะสั่งงานการจ่ายไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ เพื่อกลับมาใช้กำลังไฟฟ้าที่สำรองมาจาก generator แทนการใช้งานแบบ USP ทั้งนี้ก็จะกลับไปใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักกลับสู่สภาพปกติแล้วนั่นเอง